Page 5 - ฉบับเดือนตุลาคม 2563
P. 5

5






















                  ป.1 - ป.6  รร.บ้านดงไทยวิทยา จ.สุโขทัย  เข้าเรียนรู้













                 เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 คณะครู รร.บ้านดงไทยวิทยา ต.นาทุ่ง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย นำานักเรียนระดับชั้น ป.1 - 6 จำานวน 136 คน
          เข้าเรียนรู้ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ อบจ.กำาแพงเพชร โดยนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้า และดวงดาว ในฐานเรียนรู้ห้องท้องฟ้า
          จำาลอง, สนุกสนานกับกิจกรรมการทดลองในห้องนิทรรศการวิทยาศาสตร์ และเพลิดเพลินไปกับสาระและความบันเทิงผ่านทางภาพยนตร์ 3 มิติ
          ในฐานเรียนรู้ห้อง 3ดี มัลติมีเดีย ...










                                                        หลุมอุกกาบาตกลาวิอุส (Clavius crater) เป็นหนึ่งในหลุมอุกกาบาต
                                                        กลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่สูง (Highland)
                                                        ขรุขระทางตอนใต้ของพื้นผิวดวงจันทร์ด้านใกล้โลก  หลุมอุกกาบาต

                                                        กลาวิอุสถูกตั้งชื่อตาม “คริสโตเฟอร์ กลาวิอุส” (Christopher Clavius)
                                                        บาทหลวงเยซูอิตและนักคณิตศาสตร์-ดาราศาสตร์ชาวเยอรมันใน
                                                        ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16
               หลุมอุกกาบาตกลาวิอุสมีลักษณะปรากฏเป็นรูปวงรีแม้ว่ารูปร่างหลุมจะเป็นวงกลมเนื่องจากมุมมองจากผู้สังเกต

        มายังหลุมนี้ เราสามารถสังเกตหลุมอุกกาบาตกลาวิอุสได้ชัดเจนผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตา ในช่วงดวงจันทร์ข้างขึ้น
        9 - 11 ค่ำา บริเวณทางใต้ของดวงจันทร์ และจะสังเกตเห็นหลุมอุกกาบาตกลาวิอุสอยู่ใต้หลุมอุกกาบาตไทโค (Tycho crater)
        ซึ่งเป็นหลุมอุกกาบาตที่โดดเด่นที่สุดบนดวงจันทร์ ด้วยมีร่องรอยฟุ้งกระจายออกไปในแนวรัศมี
               นักดาราศาสตร์ประเมินว่าหลุมอุกกาบาตกลาวิอุสเป็นหลุมอุกกาบาตอายุมาก  เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาต

        เมื่อประมาณ 4 พันล้านปีก่อน ต่างจากหลุมอุกกาบาตไทโค ที่เป็นหลุมอุกกาบาตอายุน้อย มีอายุประมาณ 108 ล้านปี
               คณะนักวิจัยจากองค์การนาซาได้ประกาศผลการวิจัยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2563 (ตามเวลาประเทศไทย) ที่ตรวจ
        พบโมเลกุลน้ำาที่กระจายตัวตามหินและดินในหลุมอุกกาบาตกลาวิอุส  ซึ่งเป็นพื้นผิวดวงจันทร์ส่วนที่ได้รับแสงอาทิตย์จนมีช่วง
        ที่อุณหภูมิพื้นผิวเกิน 100 องศาเซลเซียส และเป็นพื้นที่ที่นักดาราศาสตร์ไม่คาดว่าจะเจอน้ำามาก่อน ต่างจากงานวิจัยเรื่องน้ำา

        บนดวงจันทร์ก่อนหน้านี้ที่มุ่งเน้นการหาน้ำาแข็งตามก้นหลุมอุกกาบาตที่อยู่ในเงามืดอย่างถาวรบริเวณขั้วดวงจันทร์  ทำาให้
        นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าดวงจันทร์อาจมีน้ำามากกว่าที่เคยประมาณไว้
                                                               ที่มา: https://www.facebook.com/NARITpage/
   1   2   3   4   5   6