Page 4 - สารศูนย์วิทย์เดือนกุมภาพันธ์2564
P. 4

4



                                                                    เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นช่วงที่ต้องติดตามภารกิจสำารวจดาวอังคาร
                                                             อย่างใกล้ชิด ยานอวกาศ 3 ลำามีกำาหนดเดินทางถึงดาวเคราะห์สีแดง เพื่อศึกษา
                                                             ชั้นบรรยากาศและธรณีวิทยา  นอกจากนี้  ยังมีการหาสัญญาณที่เป็นไปได้
                                                             ของการมีชีวิตอยู่ของแบคทีเรียในสมัยโบราณด้วย โดย 3 ภารกิจนี้มาจาก
                                                             3 ประเทศ ได้แก่
                                                                    1. ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ซึ่งส่งดาวเทียมโฮปของเข้าสู่วงโคจร
                                                             ของดาวอังคารแล้วเมื่อ 9 ก.พ. 2564 หลังจากเดินทางจากโลกเมื่อ 7 เดือนก่อน
                                                                    2. ประเทศจีน ภารกิจเทียนเวิ่น-1
                                                                    3. ประเทศสหรัฐอเมริกา ภารกิจเพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance)
                                                             ขององค์การนาซ่า คาดว่าจะเดินทางไปถึงดาวอังคารในวันที่ 18 ก.พ. นี้
                                                                    ทั้ง 3 ภารกิจ ต่างฉวยจังหวะที่โลกและดาวอังคารโคจรเข้าใกล้กัน
                                                             ในการเริ่มภารกิจ  โดยระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ทั้งสองดวงเปลี่ยนแปลงอยู่

        ตลอดเวลา เนื่องจากความเร็วที่แตกต่างกันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ช่วงเวลาที่สามารถเริ่มภารกิจโดยใช้เชื้อเพลิงน้อยที่สุดจะเกิดขึ้น 1 ครั้ง ทุก ๆ 26 เดือน


        ภารกิจโฮปของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
          ภารกิจเดินทางสู่ดาวอังคารภารกิจแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี
        เริ่มขึ้นจากการปล่อยจรวดจากญี่ปุ่นเมื่อเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว ยานอวกาศนี้จะสำารวจชั้นบรรยากาศ
        ของดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ซึ่งเป็นภารกิจที่ยังไม่เคยมีใครทำามาก่อน นักวิทยาศาสตร์คิดว่า
        ภารกิจนี้จะทำาให้เราเข้าใจดียิ่งขึ้นว่าดาวอังคารสูญเสียอากาศและน้ำาจำานวนมากไปได้อย่างไร
        ซึ่งต่างไปจากภารกิจของจีนและสหรัฐฯ โฮปจะไม่ลงจอดบนดาวอังคาร แต่จะโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงนี้อย่างน้อย 1 ปีดาวอังคาร หรือเท่ากับ 687 วันบนโลก คาดว่า
        ข้อมูลที่ได้จะเริ่มส่งมายังโลกในช่วงเดือน ก.ย. นี้
               แต่ก่อนหน้านั้น  ภารกิจนี้จำาเป็นจะต้องเผชิญกับปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงในการเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคาร  ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางการยูเออีเรียกขั้นตอนนี้ว่า
        “อันตรายและซับซ้อน” โดยคาดว่า ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาไปจนถึงเดือน เม.ย. นี้

                                                            โจนาธาน อามอส ผู้สื่อข่าววิทยาศาสตร์ของบีบีซี เรียกภารกิจโฮปว่า เป็นมากกว่า
                                                     ความพยายามด้านวิทยาศาสตร์  “ถือเป็นยานแห่งแรงบันดาลใจ  ซึ่งเป็นสิ่งที่จะดึงดูด
                                                     ให้คนรุ่นใหม่ในเอมิเรตส์และทั่วภูมิภาคอาหรับสนใจวิทยาศาสตร์  ในโรงเรียนและในระดับ
                                                     อุดมศึกษา”
                                                            ปัจจุบันมีเพียงสหรัฐฯ, อินเดีย อดีตสหภาพโซเวียต และสำานักงานอวกาศยุโรป
                                                     เท่านั้น  ที่ประสบความสำาเร็จในการเดินทางถึงดาวอังคาร การเดินทางถึงดาวอังคารของโฮป
                                                     เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับการครบรอบ  50  ปี  การก่อตั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  สถานที่
                                                     ที่เป็นสัญลักษณ์สำาคัญทั่วยูเออีต่างประดับด้วยแสงไฟสีแดงในช่วงกลางคืน      บัญชีผู้ใช้งาน
                                                     ของรัฐบาลต่างติดแฮชแท็ก  #ArabstoMars  และในวันครบรอบจะมีการจัดการแสดง
                                                     เฉลิมฉลองที่ ตึกเบิร์จ คาลิฟา (Burj Khalifa) ในนครดูไบ ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลก
                                                            ฉบับนี้คงต้องจบแต่เพียงเท่านี้ก่อน  ฉบับต่อไปเราจะกลับมากล่าวถึงภารกิจ
                                                     เทียนเวิ่น-1 ของประเทศจีน ซึ่งจีนหวังว่าจะนำาหุ่นยนต์น้ำาหนัก 240 กิโลกรัม ลงจอดบนพื้นที่ราบ
                                                     ในบริเวณแอ่งยูโทเปียที่เกิดจากการพุ่งชน ....แล้วพบกันใหม่ครับ

                                                                         ที่มา: https://www.bbc.com/thai/international-55995678






           ที่ปรึกษา:      สิบเอก นครไทย ยวนแห่ว  รองปลัด อบจ.กำาแพงเพชร รักษาราชการแทน ผู้อำานวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
           บรรณาธิการ:   นายชัยเดช แสงทองฟ้า  นักประชาสัมพันธ์ชำานาญการ
           กองบรรณาธิการ:  นางสาวสิริยาภรณ์ สถาพร ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์, นายธนาคาร เพ็ญฉาย ผู้ช่วยบรรณารักษ์
                        นางสาวธารทิพย์ คงทอง ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา, นายกฤติพงษ์ พรหมณี ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา
                        นางอภิรญา ศรีงาม ผู้ช่วยนักจัดการงานทั่วไป
           จัดทำาโดย:   งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กองการศึกษาฯ
   1   2   3   4