Page 17 - สารศูนย์วิทย์เดือนมีนาคม2564
P. 17
17
หลังองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ส่งยาน “เทียนเวิ่น-1”
(Tianwen-1) ไปทำาภารกิจสำารวจดาวอังคาร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
โดยยานอวกาศดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยยานโคจร ยานลงจอด และยานสำารวจ
พื้นผิว เข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำาเร็จเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ล่าสุดคาดว่าจะลงจอดบนดาวอังคารช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของปีนี้
บริเวณที่ราบต่ำายูโทเปีย ทั้งนี้ ยานสำารวจเทียนเวิ่น-1 ได้ปฏิบัติการอยู่ในวงโคจร
พักรอรอบดาวอังคารเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อดำาเนินการสำารวจและเก็บข้อมูลทาง
วิทยาศาสตร์ของดาวอังคาร และในฉบับนี้เราจะมาทำาความรู้จักและทบทวนเรื่องราว
ของยานลำานี้กันสักหน่อยกับ 5 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับยานเทียนเวิ่น-1
1. “เทียนเวิ่น” (Tianwen) แปลว่า “คำาถามสู่สรวงสวรรค์”
คำานี้มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณ เขียนโดย Qu Yuan หนึ่งในนักกวีที่
โด่งดังของจีน ในบทกวีมีการตั้งคำาถามเกี่ยวกับท้องฟ้า ดวงดาว และปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติ เหมาะสมกับชื่อภารกิจสำารวจดาวอังคารนี้อย่างยิ่ง
2. ยานเทียนเวิ่น-1 บรรทุกรถสำารวจไปด้วย
ยานเทียนเวิ่น-1 ประกอบด้วย ยานโคจรรอบดาว (Orbiter) ยานลงจอดบนพื้นผิว (Lander) และรถสำารวจ (Rover) ยานโคจรรอบดาวจะทำาหน้าที่
สำารวจพื้นที่ที่เหมาะสม จากนั้นจึงปล่อยยานลงจอดสู่พื้นผิวดาวอังคาร ภายในยานลงจอดบรรทุกรถสำารวจเอาไว้ ซึ่งจะทำาหน้าที่ศึกษาและสำารวจพื้นผิวของดาวอังคาร
ในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป
3. ยานเทียนเวิ่น-1 ประหยัดทั้งเวลาและเชื้อเพลิง
เพื่อที่จะเดินทางไปยังดาวอังคารได้รวดเร็วและประหยัดพลังงานมากที่สุด มีเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้นที่โลกและดาวอังคารจะเรียงตัวกันอย่างเหมาะสม
เรียกช่วงเวลานี้ว่า “Launch Window” ยานเทียนเวิ่น-1 ที่ถูกส่งไปยังดาวอังคารในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 นั้นก็เป็น Launch Window ล่าสุดที่เพิ่งผ่านไป
ช่วยให้ประหยัดเวลาและเชื้อเพลิงได้มาก หากพลาดโอกาสครั้งนี้ ประเทศจีนจะต้องรออีก 26 เดือน จึงจะวนกลับมาช่วง Launch Window อีกครั้ง
4. การลงจอดบนพื้นผิวของดาวอังคารเป็นสิ่งที่ท้าทายของยานเทียนเวิ่น-1
ยานเทียนเวิ่น-1 จะโคจรรอบดาวอังคารด้วยความเร็วประมาณ 20,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การส่งยานลงจอดสู่พื้นผิวจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เนื่องจาก
ยานจะต้องชะลอความเร็วจาก 20,000 กม./ชม. สู่ 0 กม./ชม. ในระยะเวลาเพียง 7 นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะควบคุมยานแบบเรียลไทม์ เนื่องจาก
โลกและดาวอังคารอยู่ห่างไกลกันมาก สัญญาณคำาสั่งที่ส่งไปยังดาวอังคารจะต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 นาที ยานจึงจะได้รับ และแม้ว่ายานจะได้รับคำา
สั่งแล้ว แต่ก็ต้องรอต่ออีก 10 นาที จึงจะทราบได้ว่ายานตอบสนองต่อคำาสั่งอย่างไร ดังนั้น ขั้นตอนดังกล่าวจะต้องถูกโปรแกรมไว้หมดแล้ว ทุกอย่างจะทำางาน
โดยอัตโนมัติและไม่สามารถผิดพลาดได้เลยแม้แต่นิดเดียว
5. ภารกิจเทียนเวิ่น-1 จะค้นหาสัญญานของสิ่งมีชีวิต
ภารกิจหลักของยานเทียนเวิ่น-1 คือการค้นหาสัญญานสิ่งมีชีวิตและศึกษา
สภาพแวดล้อมบนดาวอังคาร ถัดมาคือการศึกษาชั้นบรรยากาศ ลักษณะภูมิประเทศ
ธรณีวิทยา และตรวจวัดสนามแม่เหล็ก ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยอธิบายการกำาเนิดและวิวัฒนาการ
ของดาวอังคารและระบบสุริยะ ท้ายที่สุดผลการวิเคราะห์จากยานเทียนเวิ่น-1 จะช่วย
ตอบคำาถามว่า ดาวอังคารเหมาะสมที่จะเป็นบ้านหลังที่สองของมนุษยชาติหรือไม่
ฉบับนี้คงต้องจบแต่เพียงเท่านี้ก่อน ฉบับต่อไปเราจะกลับมากล่าวถึงภารกิจพิชิต
ดาวอังคารของประเทศสหรัฐอเมริกา...โปรดติดตามฉบับหน้านะครับ
ภาพ: ยานเทียนเวิ่น-1
ที่มา: https://www.facebook.com/NARITpage/
ที่ปรึกษา: สิบเอก นครไทย ยวนแห่ว รองปลัด อบจ.กำาแพงเพชร รักษาราชการแทน ผู้อำานวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
บรรณาธิการ: นายชัยเดช แสงทองฟ้า นักประชาสัมพันธ์ชำานาญการ
กองบรรณาธิการ: นางสาวสิริยาภรณ์ สถาพร ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์, นางสาวธารทิพย์ คงทอง ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา,
นายกฤติพงษ์ พรหมณี ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา, นางอภิรญา ศรีงาม ผู้ช่วยนักจัดการงานทั่วไป
จัดทำาโดย: งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กองการศึกษาฯ