Page 8 - สารศูนย์วิทยาศาสตร์ อบจ.กำแพงเพชร เดือนเมษายน2564
P. 8

8






                                                                    นักดาราศาสตร์พบการแผ่รังสีเอกซ์จาก “ดาวยูเรนัส”
                                                                    เป็นครั้งแรก
                                                                           ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์

                                                                    เป็นลำาดับที่  7  ในระบบสุริยะ  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น
                                                                    ไฮโดรเจนและฮีเลียม  มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า
                                                                    โลกถึง 4 เท่า มีวงแหวนจาง ๆ 2 วง ล้อมรอบบริเวณ

                                                                    เส้นศูนย์สูตร และมีแกนเอียงจากแนวตั้งฉากของระนาบวง
                                                                    โคจรถึง 98 องศา (โลกมีแกนเอียง 23.5 องศา) ทำาให้
                                                                    ดาวยูเรนัสโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะ  “ตะแคงข้าง”
                                                                    ซึ่งต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ



               ที่ผ่านมามีเพียงยานวอยเอเจอร์  2  ลำาเดียวที่เคยสำารวจด้วยวิธีบินผ่าน
        ดาวยูเรนัส นักดาราศาสตร์จึงต้องอาศัยข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเช่น ฮับเบิล

        หรือจันทรา  เพื่อศึกษาดาวเคราะห์ยักษ์น้ำาแข็งดวงนี้  ล่าสุดจากการวิเคราะห์ข้อมูล
        จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราที่ถ่ายไว้ในปี  พ.ศ.  2545  และ  พ.ศ.  2560
        แสดงให้เห็นรังสีเอกซ์บนดาวยูเรนัส  (สีชมพู)  จากนั้นนำามารวมกับข้อมูลจาก
        กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน Keck-I ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นที่ถ่ายไว้เมื่อปี พ.ศ.

        2547 (ดังภาพ)
               นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า  วงแหวนของยูเรนัสนั้นอาจปลดปล่อยรังสีเอกซ์
        ออกมาได้เอง  เกิดจากอนุภาคที่มีประจุในอวกาศพุ่งชนกับวงแหวน  แล้วเปล่งแสง
        รังสีเอกซ์ออกมา (คล้ายกับกรณีของดาวเสาร์) หรืออาจเป็นแสงออโรราของดาว

        ยูเรนัสที่เกิดจากอนุภาคที่มีประจุวิ่งตามเส้นสนามแม่เหล็กดาวยูเรนัส  พุ่งเข้าชน
        ชั้นบรรยากาศ ทำาให้เปล่งรังสีเอกซ์ออกมา (คล้ายกับออโรราบนโลก)



               นอกจากโลกแล้ว ดาวพฤหัสบดีก็มีแสงออโรราด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เกิดขึ้นจากอนุภาคที่มีประจุพุ่งชนชั้นบรรยากาศบริเวณขั้วสนามแม่เหล็ก
        ของดาว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหลักฐานยังไม่เพียงพอ นักดาราศาสตร์จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าดาวยูเรนัสจะเกิดแสงออโรราขึ้นได้อย่างไร
        ด้วยเหตุนี้  ดาวยูเรนัสจึงเป็นอีกเป้าหมายที่น่าสนใจอย่างมากสำาหรับการศึกษาในช่วงคลื่นรังสีเอกซ์  อีกทั้งยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีแกนเอียงและ

        ขั้วสนามแม่เหล็กแตกต่างไปจากดาวเคราะห์ดวงอื่นอย่างมาก  ซึ่งอาจส่งผลกับการแผ่รังสีที่เกิด  ซึ่งข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา
        จะช่วยให้นักดาราศาสตร์ไขปริศนาการแผ่รังสีเอกซ์ และไขปริศนาเกี่ยวกับดาวเคราะห์ยักษ์น้ำาแข็งดวงนี้ต่อไป




                                                                              ที่มา: https://www.facebook.com/NARITpage/








           ที่ปรึกษา:      สิบเอก นครไทย ยวนแห่ว  รองปลัด อบจ.กำาแพงเพชร รักษาราชการแทน ผู้อำานวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
           บรรณาธิการ:   นายชัยเดช แสงทองฟ้า  นักประชาสัมพันธ์ชำานาญการ
           กองบรรณาธิการ:  นางสาวสิริยาภรณ์ สถาพร ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์, นางสาวธารทิพย์ คงทอง ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา,
                        นายกฤติพงษ์ พรหมณี ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา, นางอภิรญา ศรีงาม ผู้ช่วยนักจัดการงานทั่วไป
           จัดทำาโดย:   งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กองการศึกษาฯ
   3   4   5   6   7   8