Page 3 - สารศูนย์วิทย์เดือนมิถุนายน2564
P. 3
3
การค้นพบก่อนหน้านี้ ซึ่งตีความได้ว่าเกิดจากการสะท้อนกับแหล่งน้ำาที่อยู่ในสภาพของเหลวใต้ดิน เกิดขึ้นบริเวณที่มีน้ำาแข็ง น้ำาแข็งแห้ง
และฝุ่น ทับถมกันเป็นชั้นสลับกันอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายล้านปี ตะกอนน้ำาแข็งที่ทับถมกันนี้เป็นเสมือนบันทึกกาลเวลาที่บอกเล่าประวัติศาสตร์
ของดาวอังคารได้ เช่นความเอียงของแกนหมุนดาวอังคารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
นักวิทยาศาสตร์มองเห็นสภาพของชั้นต่าง ๆ ใต้แผ่นน้ำาแข็งได้ โดยการยิงคลื่นวิทยุลงไปยังพื้นผิว คลื่นวิทยุเมื่อผ่านชั้นวัสดุต่าง ๆ
ใต้พื้นผิวจะเสียพลังงานไป เมื่อสะท้อนกลับมายังยาน จึงมักจะอ่อนกำาลังลงไปจากเดิม แต่ในบางกรณี สัญญาณที่สะท้อนจากใต้พื้นผิว
กลับมีความเข้มกว่าที่สะท้อนจากพื้นผิว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตีความว่าสัญญาณนี้เกิดจากมีน้ำาใต้ดินที่อยู่ในสถานะของเหลว เพราะน้ำาในสถานะ
ของเหลวสะท้อนคลื่นวิทยุดีมาก
พื้นที่ที่พบการสะท้อนเรดาร์ที่คาดกันว่าเกิดจากน้ำาใต้ดินนั้นกินพื้นที่ราว 10-20 ตารางกิโลเมตรอยู่ที่บริเวณขั้วใต้ของดาวอังคาร
คูลเลอร์และเพลาต์ได้วิเคราะห์สัญญาณจากอุปกรณ์มาร์ซิสเพิ่มเติมโดยขยายพื้นที่สำารวจเพิ่มขึ้นอีกจนครอบคลุมเขตขั้วดาวอังคารทั้งหมด
และครอบคลุมช่วงเวลาสำารวจนานถึง 15 ปี จากข้อมูลการวัดจากการวัดการสะท้อนคลื่นเรดาร์ 44,000 ครั้งที่นำามาศึกษา พบการสะท้อน
ในลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้นอีกหลายสิบจุด และพบในพื้นที่ใหม่ที่กินอาณาบริเวณกว้างและมีช่วงความลึกมากกว่าเดิม ในบางจุดอาจอยู่ลึก
ลงไปเพียงกิโลเมตรเศษเท่านั้น ความลึกระดับนั้นมีอุณหภูมิราว -63 องศาเซลเซียส ซึ่งหนาวเย็นเกินกว่าที่น้ำาจะอยู่ในสถานะของเหลวได้
แม้แต่น้ำาเกลือเพอร์คลอเรตซึ่งมีจุดเยือกแข็งต่ำามากก็ยังต้องกลายเป็นน้ำาแข็งที่อุณหภูมิระดับนี้
คุลเลอร์ได้คำานวณหาพลังงานความร้อนที่จำาเป็นในการทำาให้น้ำาแข็ง
ใต้ดินหลอมเหลวได้ พบว่ามีเพียงกิจกรรมที่เกี่ยวกับภูเขาไฟใต้ดิน
ที่เพิ่งเกิดขึ้นผ่านไปไม่นานเท่านั้นที่จะทำาได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็
ไม่พบหลักฐานของการเกิดเหตุการณ์ลักษณะนั้นในบริเวณขั้วใต้มา
ก่อนเลย
แม้นักวิจัยทั้งสองก็ไม่อาจอธิบายได้ว่าสิ่งใดเป็นต้นเหตุที่ทำาให้เกิด
การสะท้อนเรดาร์ตามที่มาร์ซิสตรวจพบได้หากมิใช้น้ำา แต่อย่างน้อย
งานวิจัยฉบับนี้ก็ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใกล้คำาตอบมากขึ้น และ
ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนที่ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ด้านภูมิ
อากาศของดาวอังคารได้อีกด้วย
ยานมาร์สเอกซ์เพรสขององค์การอีซา (จาก ESA/NASA/JPL-Caltech)
ที่มา: http://thaiastro.nectec.or.th/news/4001/
ที่ปรึกษา: สิบเอก นครไทย ยวนแห่ว รองปลัด อบจ.กำาแพงเพชร รักษาราชการแทน ผู้อำานวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
บรรณาธิการ: นายชัยเดช แสงทองฟ้า นักประชาสัมพันธ์ชำานาญการ
กองบรรณาธิการ: นางสาวสิริยาภรณ์ สถาพร ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์, นางสาวธารทิพย์ คงทอง ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา,
นายกฤติพงษ์ พรหมณี ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา, นางอภิรญา ศรีงาม ผู้ช่วยนักจัดการงานทั่วไป
จัดทำาโดย: งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กองการศึกษาฯ