Page 3 - สารศูนย์วิทย์เดือนมกราคม 2564
P. 3
3
ผ่านพ้นไปแล้วสำาหรับปีใหม่ และเดือนมกราคม ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นของปี พ.ศ. 2564 สำาหรับ
นิทานจากดวงดาวฉบับนี้ ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับเดือนมกราคมมาฝากผู้อ่านทุกท่าน เรื่องราวจะเป็น
อย่างไร ติดตามอ่านกันได้เลยครับ.....
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เกิดการต่อสู้แย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างเทพเจ้าซูส (Zeus)
กับยักษ์ไทฟอน (Typhon) ของกรีก ซูสพลาดท่าโดนยักษ์ไทฟอนจับไปไว้ในถ้ำา แพน (Pan)
เทพเจ้าแห่งป่าและคนเลี้ยงแกะได้แอบมาช่วยซูส เมื่อถูกไทฟอนพบเห็นเข้า แพนจึงแปลงร่าง
กระโดดลงน้ำาหนียักษ์ไทฟอน
แพนมีลักษณะกึ่งคนกึ่งแพะ ตัวท่อนบนเป็นคน มีเขา หู และขา
นิทาน.... เป็นแพะ เมื่อแปลงร่างแล้วกลายเป็น แพะทะเลหรือแคพริคอร์น
จากดวงดาว (Capricorn) มีลำาตัวท่อนบนเป็นแพะ ท่อนล่างมีหางเป็นปลา
(เหมือนนางเงือก)
กลุ่มดาวแพะทะเล (Capricornus) เป็นที่มาของเดือนมกราคม คำาว่า มกราคม มาจากคำาว่า มกร (มังกร) + อาคม
(มาถึง) หมายถึง ดวงอาทิตย์มาถึงราศีมกร หรือกลุ่มดาวแพะทะเล (สันนิษฐานว่าที่แพะทะเลกลายเป็นมังกรเพื่อให้คนไทยเข้าใจง่าย
เพราะคนไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จักแพะทะเล แต่รู้จักมังกร)
วันที่ 1 มกราคม 2564 ดวงอาทิตย์ยังอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) ยังไม่เข้าไปในกลุ่มดาวแพะทะเล หัวค่ำาวันนั้นจะเห็น
กลุ่มดาวแพะทะเลบนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
กลุ่มดาวแพะทะเล (Capricornus) เป็นที่มาของเดือนมกราคม
คำาว่า มกราคม มาจากคำาว่า มกร (มังกร) + อาคม (มาถึง) หมายถึง
ดวงอาทิตย์มาถึงราศีมกร หรือกลุ่มดาวแพะทะเล (สันนิษฐานว่าที่แพะทะเล
กลายเป็นมังกรเพื่อให้คนไทยเข้าใจง่าย เพราะคนไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จัก
แพะทะเล แต่รู้จักมังกร)
วันที่ 1 มกราคม 2564 ดวงอาทิตย์ยังอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู
(Sagittarius) ยังไม่เข้าไปในกลุ่มดาวแพะทะเล หัวค่ำาวันนั้นจะเห็นกลุ่มดาวแพะทะเล
บนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มดาวแพะทะเลไม่มีดาวสว่างมาก
อาจมองไม่เห็นในกรุงเทพฯ หรือในเมืองใหญ่ที่มีมลพิษแสงรบกวน
ชื่อเดือนมกราคมภาษาอังกฤษคือ January มาจาก เจนัส (Janus) เทพเจ้าแห่งประตู การเริ่มต้นและการสิ้นสุด ของ
โรมัน มีลักษณะน่าสนใจคือเป็นคน 2 หน้า ตรงข้ามกัน หน้าหนึ่งหันมองไปอดีต อีกหน้าหนึ่งหันมองไปอนาคต
ปัจจุบันสากลกำาหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เดิมชาวโรมัน ใช้วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ไทยเราใช้
วันสงกรานต์ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่แบบไทย ไม่ใช้วันขึ้น 1 ค่ำา เดือน 1 หรือเดือนอ้าย (ตามปฏิทินจันทรคติไทย ที่ใช้ขนาด
ดวงจันทร์กำาหนดเดือน) เป็นวันขึ้นปีใหม่ (ล่าสุดวันขึ้น 1 ค่ำา เดือน 1 ตรงกับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563)
แต่วันที่เปลี่ยนปีนักษัตรจะใช้วันขึ้น 1 ค่ำา เดือน 5 ตัวอย่างเช่น วันแรม 15 ค่ำา เดือน 4 (ปีนี้ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม 2564)
ยังเป็นปีชวด แต่ถัดมาอีกวันคือวันขึ้น 1 ค่ำา เดือน 5 (14 มีนาคม 2564) จะเปลี่ยนเป็นปีฉลู ในสมัยรัชกาลที่ 5 กำาหนดให้วันที่
1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 9 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม เริ่มตั้งแต่
ปี 2483 และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน จีนใช้วันตรุษจีน คือ วันขึ้น 1 ค่ำา เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่แบบจีน
(ปีนี้ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564)
ที่มา: นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. https://www.nstda.or.th/
ที่ปรึกษา: สิบเอก นครไทย ยวนแห่ว รองปลัด อบจ.กำาแพงเพชร รักษาราชการแทน ผู้อำานวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
บรรณาธิการ: นายชัยเดช แสงทองฟ้า นักประชาสัมพันธ์ชำานาญการ
กองบรรณาธิการ: นางสาวสิริยาภรณ์ สถาพร ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์, นายธนาคาร เพ็ญฉาย ผู้ช่วยบรรณารักษ์
นางสาวธารทิพย์ คงทอง ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา, นายกฤติพงษ์ พรหมณี ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา
นางอภิรญา ศรีงาม ผู้ช่วยนักจัดการงานทั่วไป
จัดทำาโดย: งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กองการศึกษาฯ